คุณทวีศักดิ์ แก้วโมราเจริญ พร้อมด้วย คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ เดินทางมอบเงินบริจาค ให้กับ มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ธนบุรี)

คุณทวีศักดิ์ แก้วโมราเจริญ พร้อมด้วย คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ เดินทางมอบเงินบริจาค ให้กับ มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ธนบุรี)

คุณทวีศักดิ์ แก้วโมราเจริญ พร้อมด้วย คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ เดินทางมอบเงินบริจาค ให้กับ มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ธนบุรี)

เมื่อเวลา 10:00 น.วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ณ มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ธนบุรี) เลขที่ 745 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
☆ คุณทวีศักดิ์ แก้วโมราเจริญ บริษัท ฟิวเจอร์วู้ด จำกัด พร้อมด้วย
☆ คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ รองประธานที่ปรึกษา สน.พลับพลาไชย 2/ รองประธาน กต.ตร.สน.เทียนทะเล
☆ คุณภคนันท์ ศรีแสงแก้ว กต.ตร.สน.เทียนทะเล
☆ พ.ต.อ.กิตติ แสงศิริวุฒิ รอง ผบก.อคฝ.
ร่วมเดินทางเข้าบริจาคเงินให้กับทางมูลนิธิฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนที่เจ็บป่วย และมีฐานะที่ไม่สามารถจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่ายาได้ ให้มีโอกาสเข้ามารับการรักษาฟรีจากทาง มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์

โดยในวันนี้ทาง คุณทวีศักดิ์ แก้วโมราเจริญ ได้นำเงินเข้ามาบริจาคให้กับทางมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท และทาง คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ ได้ร่วมบริจาคเพิ่มอีก จำนวน 50,000 บาท โดยมีคณะผู้บริหารมูลนิธิฯ คอยให้การต้อนรับและรับมอบเงินบริจาค ซึ่งประกอบด้วย
☆ คุณบุญชัย อัศวกุล ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์
☆ คุณชรินทร์ ตั้งอยู่ภูวดล รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ และประชาสัมพันธ์
☆ คุณอุดม วิบูลพัฒนะวงศ์ รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์
☆ คุณวิชัย กาญจนเสวี รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์
☆ คุณวิบูลย์ ทวีรุจจนะ รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์
☆ คุณจิรวัฒน์ หลิน ผู้จัดการมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์
☆ คุณลั้ง ลิมโกมลวิลาศ จัดการมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ (ธนบุรี)

ประวัติความเป็นมาของ มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อพุทธศักราช 2464 ซึ่งตรงกับทางคริสต์ศักราช 1921 โดยก่อนหน้านี้คือ เมื่อปี พ.ศ.2457 ได้เกิดมีสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปี พ.ศ.2461 สงครามโลกจึงสงบ และเมื่อหลังสงครามสงบลง ประเทศชาติต้องกลับมาบูรณะกันใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีผู้คนตกงานเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ลง
ประเทศไทยเราในแผนที่โลก จะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร คืออยู่ในเขตร้อน-ขึ้น เดี๋ยวร้อน-เดี๋ยวเย็น บางครั้งฝนก็ตก ผู้คนจึงเจ็บป่วยไข้ได้ง่าย กอรปกับสถานการณ์ทั่วไปยังไม่อยู่นิ่ง ไม่ว่าชีวิต หรือทรัพย์ ก็ยังรักษายาก คนที่เจ็บไข้-ได้ป่วยไม่มีเงินรักษาก็มีไม่น้อย
และในห้วงเวลานั้น คนจีนที่มาพึ่งพระบรมร่มโพธิสมภารไม่สามารถคณาได้ และประเทศไทยเรายังไม่เป็นชาติอุตสาหกรรม คนที่มาส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกรรมาชีพ ก็จำเป็นต้องมาขาย
แรงงาน และขณะเดียวกันนั้น คนที่ย้ายมาลงทุนก็มีไม่น้อยเหมือนกัน

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่บางครั้งเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง คนเป็นไข้หรือไม่สบาย หากไม่หนักหนาก็หายาทาน แต่ถ้าหากหนักหน่อยก็ต้องพึ่งหมอ โรงพยาบาลของรัฐฯ หรือเทศบาลท้องถิ่น ใช่ว่าจะไม่มีเลย แต่ก็จำเป็นต้องสิ้นเปลืองเงิน-ทอง และปัญหาที่ใหญ่กว่าคือ ภาษาในด้านการสื่อสารนั้น ทำให้ไม่สะดวกในการสนทนากันซึ่งไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกัน จนบางครั้งอาการกำเริบมากขึ้นและไม่สามารถทำงานหาเงิน ก็เกิดเป็นความทุกข์ทวีคูณ
จนกระทั่งในห้วงเวลานั้น มีคหบดีชาวจีนได้รวบรวมชาวจีนผู้ใจบุญจำนวนหนึ่ง และได้มีดำริก่อตั้งมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ยากไร้ โดยทำการรักษาฟรีทุกอาการของโรค โดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น ภาษา ศาสนา และชาติใดทั้งสิ้น
โดยพ่อค้า คหบดี และผู้นำชาวจีนในสมัยนั้น ได้ร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างแข็งขัน และชนรุ่นหลังในสมัยต่อมา ก็ได้ร่วมแรง-ร่วมใจกันอย่างเต็มที่ ซึ่งในด้านความเป็นจริงแล้ว ด้วยกำลังทรัพย์ กำลังใจในสมัยนั้น ไม่เพียงพอกับการช่วยชีวิต หรือการเจ็บไข้-ได้ป่วยของประชาชนในขณะนั้นได้ เพราะเมื่อปี พ.ศ. 2471 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ โรงงานอุตสาหกรรมต่างก็เลิกกิจการ ธนาคารหลายแห่งก็เกิดล้มละลาย สถิติคนตกงานก็สูง เหตุการณ์ถึงขั้นวิกฤต จวบจนกระทั่งถึงปี 2478 เหตุการณ์จึงได้บรรเทาลงบ้าง และเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปี ก็มาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นอีก แต่ด้วยพระบารมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปกเกล้า – ปกกระหม่อม ประเทศเราจึงมิได้อยู่ในแนวรบที่สำคัญ จึงเสียหายไม่มากนัก แต่ทว่าการคมนาคมในทะเลก็เสมือนถูกปิดตาย ยาที่ใช้รักษาคนไข้ในขณะนั้นก็ขาดแคลน ถึงแม้จะมีบ้าง ราคาค่างวดก็สูงจนเกือบจะรับไม่ได้ เหตุการณ์ต่างๆในขณะก็ดูเหมือนจะมืดไปทุกด้าน ทางมูลนิธิฯ จึงได้เปิดขอรับบริจาคจากพ่อค้า คหบดีผู้ใจบุญอีก และท่านเหล่านั้นก็ช่วยมาอย่างสุดแรง การงินของมูลนิธิฯในขณะนั้นฝืดเคืองสุดๆ แต่ด้วยความพยายามของคณะกรรมการในสมัยนั้นไม่ยอมย่อท้อ มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ จึงยืนหยัดมาจวบจนถึงทุกวันนี้
ท่านคณะกรรมการในสมัยนั้น ได้ตั้งปณิทานไว้ว่า เอื้ออาทรร้อนใจแต่การเจ็บไข้-ได้ป่วยของพื่-น้องร่วมชาติ โดยไม่เคยห่วงตนเอง รู้ทั้งรู้ว่าทำลำบาก แต่ก็พยายามดิ้นรนทำต่อไปโดยไม่ย่อท้อ จึงทำให้พวกเราชนรุ่นหลัง ควรดูเป็นแบบอย่าง และปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ทรงห่วงใยความทุกข์สุขของพสกนิกรของพระองค์ ดังนั้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2528 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับมูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
ต่อมา เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2534 ทรงโปรดเกล้าพระราชทานพระมงกุฎพิชัยสงคราม แก่มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไว้เป็นตราสัญลักษณ์ เพื่อเป็นสิริมงคล และความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นของมูลนิธิฯสืบต่อไป และเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2540 กระทรวงการคลังได้ประกาศว่า มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหนึ่งในมูลนิธิ ที่ทำคุณประโยชน์สาธารณะกุศล ดังนั้นเงินที่รับบริจาคจากประชาชน จึงไม่ต้อง
เสียภาษีนิติบุคคล และประชาชนผู้มีจิตรัทธาทั่วไป ที่บริจาคทรัพย์สิน-เงินทองแก่มูลนิธิฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่าย เพื่อนำไปหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลได้เต็ม
จำนวน โดยได้ลงในราชกิจจานุเบกมาเล่มที่ 114 พิเศษตอนที่ 84 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2540
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการและคณะแพทย์ของมูลนิธิฯ พร้อมพ่อค้า-ประชาชนผู้บริจาคทั่วไป มีความปลาบปลื้มปิติยินดี อย่างหาที่สุดมิได้ ต่างมีความรู้สึกดั่งได้น้ำทิพย์จากสวงสวรค์ จึงตั้งเครื่องราชสักการะถวายพระพร ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ขอขอบคุณผู้สนับสนุน

ขอขอบคุณ


คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ รองประธานที่ปรึกษา สน.พลับพลาไชย 2/ รองประธาน กต.ตร.สน.เทียนทะเล/ ที่ปรึกษานิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน
สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า