พิธีบวงสรวง “เทพารักษ์พิทักษ์เพชรบูรณ์ 1001 ปี ศรีหลักเมือง” จ.เพชรบูรณ์

พิธีบวงสรวง “เทพารักษ์พิทักษ์เพชรบูรณ์ 1001 ปี ศรีหลักเมือง” จ.เพชรบูรณ์

พิธีบวงสรวง “เทพารักษ์พิทักษ์เพชรบูรณ์ 1001 ปี ศรีหลักเมือง” จ.เพชรบูรณ์

เมื่อเวลา 18:00 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ณ ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ กลางเมืองเพชรบูรณ์ ท่าน ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย ท่าน ดร.เสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศบาลเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ และท่านผู้ทรงเกียรติ ได้เดินทางมาเข้าร่วมในพิธี สมโภชน์ 1,001 ปี ศรีหลักเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อถวายสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองเมืองเพชรบูรณ์ เป็นการรำลึกถึง และให้ความเคารพต่อบรรพชนผู้สร้างบ้านแปลงเมืองเพชรบูรณ์ รวมถึงเพื่อขอพรให้ประชาชนชาวจังหวัดเพชรบูรณ์อยู่เย็นเป็นสุข เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ประชาชนชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และผู้ร่วมพิธี โดยมี อาจารย์ภีระเมศร์ ประสิทธิเมธี เป็นผู้ประกอบพิธี
และมี หอครูเทวาประสิทธิ์ รังสรรค์พิธีการ

กล่าวถึงความเป็นมาของศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่ง มีประวัติเล่าขานต่อกันมาว่า ได้สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2443 โดย หลวงนิกรเกียรติคุณ เป็นเจ้าเมืองในสมัยนั้น และมีการเล่าต่อๆกันมาอีกว่า เสาหลักเมืองที่ประดิษฐานอยู่ด้านในศาล เป็นเสาหินเก่าแก่ เดิมคือศิลาจารึกเก่าที่ได้คาดกันว่า นำมาจากเมืองโบราณศรีเทพ และได้นำมาไว้ที่วัดมหาธาตุ ก่อนที่ท่านเจ้าเมืองจะให้อันเชิญมาเป็นเสาหลักเมืองประดิษฐานที่ศาลหลักเมือง ทำให้เสาหลักเมือง มีความแตกต่างจากที่อื่น กล่าวคือ ได้ค้นพบว่ามีจารึกโบราณอยู่ตรงบริเวณทั้งสี่ด้านของเสา แต่ถูกปกปิดเอาไว้ด้วยการปิดแผ่นทอง และผูกผ้าตามความเชื่อและศรัทธาจากบรรพบุรุษ
จากนั้นรอยจารึกก็ได้ปรากฎขึ้นอีกครั้ง โดยปี พ.ศ.2548 ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ได้เข้ามาบูรณะปรับปรุงพื้นที่ รวมทั้งทำความสะอาดเสาหลักเมือง โดยมีการลอกเอาแผ่นทอง และผ้าผูกเสาออก กระทั่งได้พบรอยจารึกที่เสา จึงได้ประสานไปยังกรมศิลปากรให้มาตรวจสอบ และพบคำตอบว่าเป็นการจารึกในสองห้วงเวลา คือ ด้านหนึ่งที่เก่าที่สุด จารึกเป็นภาษาขอม ภาษาสันสฤตนับได้ 22 บรรทัด จารึกไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ.1564 โดยมีเนื้อหาจับใจความได้ว่าเป็นการบูชาพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ ส่วนอีกสามด้าน จารึกเป็นอักษรขอม ภาษาไทย บาลี และเขมร เมื่อประมาณปี พ.ศ.2059 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของจารึกดังกล่าว ได้มีการจัดแสดงไว้ที่หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์ อินทราชัย ซึ่งอยู่บริเวณใกล้ๆกับศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์
กล่าวกันว่า ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์แห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางจิตใจ แล้ว ยังมีเรื่องของความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ และในด้านของประวัติศาสตร์ กล่าวคือเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมือง ที่ได้ชื่อกันว่าเป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และมีลักษณะพิเศษทั้งตัวเสาที่เป็นหิน และจารึกโบราณที่ปรากฎบนเสา ดังข้อมูลที่เล่าสืบขานต่อกันมา

ขอขอบคุณคณะ

สิงโตมังกรทอง ลูกชัยมงคล เอื้อเฟื้อ Video clip ประกอบข่าว

คุณ ศุภผล จริงจิตร
ผอ.ภ.6 นิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า