สตม.แถลงผลจับกุมขบวนการขนแรงงานชาวต่างด้าวผิดกฏหมาย 3 คดี
เมื่อเวลา 11:00 น.วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ ห้องสวนพลู (ห้องแถลงข่าว) ชั้น2 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระชนมพรรษา 60 พรรษา ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม.พร้อมด้วย พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม., พ.ต.อ.เอกกร บุษบาบดินทร์ รอง ผบก.ตม.5, พ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ จิตต์ประยูรตี รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.ท.พิระวัตร์ วงศ์ศิริเมธีกุล สวญ.ตม.จว.ชุมพร ร่วมแถลงผลจับกุมขบวนการขนแรงงานชาวต่างด้าวผิดกฏหมาย 3 คดี
[ คดีที่ 1 ] รวบขบวนการขนคนต่างด้าวขึ้นเหนือล่องใต้ อ้างโปรไฟล์รับขนส่งทั่วไทย
ตม.จว.น่าน ร่วมกับ ตม.จว.สุรินทร์ จับกุม นายหนูเรียง (สงวนนามสกุล) อายุ 48 ปี สัญชาติไทย ตามหมายจับของศาลจังหวัดน่าน ที่ จ.34/2567 ลงวันที่ 15 มี.ค.2567
จากกรณี เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2567 เวลาประมาณ 20.00 น. ตม.จว.น่าน ร่วมกับ นปพ.กก.สส.ภ.จว.น่าน ประจําจุดตรวจห้วยน้ำอุ่น จับกุมนายจิระวัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 50 ปี พร้อมคนต่างด้าว สัญชาติกัมพูชา จํานวน 6 คน ในความผิดฐาน รู้ว่าคนต่างด้าวคนใดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วย ประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม นําตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.เวียงสา จว.น่าน ดําเนินคดีตามกฎหมายนั้น
จากการสอบถาม นายจิระวัฒน์ ให้การรับสารภาพว่าได้รับงาน รับ-ส่ง คนต่างด้าวจากนายหนูเรียง ตกลง ค่าจ้างไว้เป็นจํานวน 18,000 บาท ให้ไปส่งคนต่างด้าวจํานวน 6 คน จากต้นทาง อ.เชียงม่วน จว.พะเยา ปลายทางบริเวณชายแดนบ้านแหลม อ.โป่งน้ําร้อน จว.จันทบุรี และจะได้รับค่าจ้างหลังจากส่งตัวคนต่างด้าวที่ปลายทางแล้ว โดยใช้ แอพพลิเคชั่น Zello และ Line พูดคุยติดต่อกับนายหนูเรียง เพื่อนัดแนะถึงรายละเอียดในการ รับ-ส่ง คนต่างด้าวรวมถึง ค่าตอบแทนจากนายหนูเรียง จึงได้ทําการสืบสวนขยายผลพบว่านายหนูเรียง มีพฤติกรรมในการลักลอบรับ-ส่ง คนต่างด้าว ไปทั่วราชอาณาจักร และได้ลักลอบขนส่งคนต่างด้าวไปยังพื้นที่ภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบว่านายหนูเรียงเป็นบุคคลตามที่ทาง พล.ต.ต.ปิติ นิธินนทเศรษฐ์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ประพันธ์ศักดิ์ ประสานสุข ผบก.สส.สตม., พล.ต.ต.เกติ์ฉกาจ นิลประดับ ผบก.ตม.5, มีหมายจับของศาลจังหวัดทุ่งสง ในข้อหา “ให้ที่พัก ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมา โดยผิดกฎหมาย เพื่อให้พ้นจากการจับกุม” จํานวน 1 หมาย ตม.จว.น่าน จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานส่งพนักงานสอบสวน สภ.เวียงสา จว.น่าน เพื่อขออนุมัติศาลจังหวัดน่าน ออกหมายจับ นายหนูเรียงฯ ในข้อหา “ร่วมกันกระทํา ความผิด (ผู้ใช้) รู้ว่าคนต่างด้าวคนใดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วย ด้วย ประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม” ต่อมาจากการสืบสวนทราบว่านายหนูเรียง ได้หลบหนีคดีไปพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่ 9 ต.รัตนบุรี อ.รัตนบุรี จว.สุรินทร์ จึงได้ไปประสานงานกับ ตม.จว.สุรินทร์ เข้าตรวจสอบและจับกุม นําตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.เวียงสา จว.น่าน ดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
[ คดีที่ 2 ] รวบบังหยันหัวโจกขนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองข้ามชาติ
ตม.จว.สงขลา ร่วมกับ ตม.จว.ปัตตานี จับกุมนายซัฟยัน หรือบังหยัน (สงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี สัญชาติไทย ตามหมายจับศาลจังหวัดสงขลา ที่ จ.455/2567 ลงวันที่ 5 ก.ค.2567
สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2566 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ตม.จว.สงขลา จับกุมแรงงานต่างด้าวสัญชาติ บังกลาเทศหลบหนีเข้าเมือง 19 คน พร้อมผู้ให้การช่วยเหลือ 2 คน เหตุเกิดที่ถนนสายเอเชียหมายเลข 2 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จว.สงขลา หลังจากน้ันได้ขยายผลการจับกุมพบว่านายซัฟยันหรือบังหยันผู้อยู่เบื้องหลังในการกระทําความผิดคร้ังนี้ จึงรวบรวมพยานหลักฐานจนกระทั่งศาลจังหวัดสงขลาออกหมายจับในความผิดฐาน ร่วมกันให้ที่พักพิง ให้การ ช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาผิดกฎหมายเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
ต่อมาสืบทราบว่า นายซัฟยันฯ มาหลบอยู่ที่บ้านพักในเขต อ.หนองจิก จว.ปัตตานี จึงประสาน ตม.จว.ปัตตานี บูรณาการกําลังร่วมกับ ชุดสืบสวน บก.สส.จชต. และ สภ.หนองจิก ไปร่วมตรวจสอบและจับกุมได้ที่บ้านหลังดังกล่าว สําหรับนายซัฟยันฯ หรือบังหยัน ถือเป็นกลไกสําคัญระดับสั่งการในการลําเลียงแรงงานต่างด้าว สัญชาติ บังกลาเทศ จากประเทศกัมพูชาผิดกฎหมายผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียทางช่องทางธรรมชาติ มีหมายจับจากการกระทําความผิดข้างต้นติดตัวจํานวน 2 หมายจับ จะทําหน้าที่สั่งการประสานงานกับนายหน้าประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจัดหารถขนแรงงานต่างด้าวคร้ังละ 15-20 คน จากพื้นที่ตอนบนมายังภาคใต้ตลอดเส้นทาง จนถึงมือนายจ้างที่ต้องการใช้แรงงานผิดกฎหมายในประเทศมาเลเซีย เจ้าหน้าที่จึงใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานหลายเดือนถึงจะพิสูจน์ ทราบตัวบุคคลได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเครือข่ายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนําพาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเคยจับกุมมาแล้ว 3 คดี ในการทลายเครือข่ายคร้ังนี้ ถือเป็นการตัดวงจรสําคัญในการขนแรงงานผ่านประเทศไทย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตํารวจสามารถดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางได้ถึง 62 คน เป็นคนไทย 10 คน คนต่างด้าว 52 คน ตรวจยึดยานพาหนะที่ใช้ในการกระทําความผิดได้ 8 คัน หลังจากนี้จะควบคุมตัว ส่งพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรรัตภูมิเพื่อดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
[ คดีที่ 3 ] จับกุมนายหน้าผู้ประสานงานขบวนการขนคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ตม.จว.ชุมพร ร่วมกับ กก.ปอพ.บก.สส.สตม. จับกุมนายฮาวาย (สงวนนามสกุล) อายุ 36 ปี สัญชาติไทย ตามหมายจับศาลจังหวัดชุมพร ที่ จ.247/2567 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2567
ตามที่เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2566 เวลาประมาณ 06.30 น.ได้เกิดอุบัติเหตุรถกระบะ (ตู้ทึบ) ขนคนต่างด้าวชาวเมียนมาพลิกคว่ำบริเวณ ต.สลุย อ.ท่าแซะ จว.ชุมพร ที่เกิดเหตุพบคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จํานวน 18 คน (ได้รับบาดเจ็บ) ซึ่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คน คือ นายสิทธิศักดิ์ หรือบาส (สงวนนามสกุล) อายุ 20 ปี ส่ง สภ.สลุย จ.ชุมพร ดําเนินคดีตามกฎหมายนั้น
ต่อมา ตม.จว.ชุมพร ร่วมกับ กก.สส.บก.ตม.6 และ บก.สส.สตม.ได้ทําการสืบสวนขยายผลพบว่า ผู้ต้องหาได้รับการว่าจ้างให้ไปรับคนต่างด้าวชาวเมียนมา ที่ ต.ปากแพรก อ.เมือง จว.กาญจนบุรี เพื่อไปส่งยัง อ.หาดใหญ่ จว.สงขลา โดยในครั้งนี้มีรถที่ไปรับคนต่างด้าวด้วยกันอีก 1 คัน คือนายธีรพงษ์ (ได้ออกหมายจับดําเนินคดีไปแล้ว) จากการ ตรวจสอบเส้นทางการเงินพบว่า นายธีรพงษ์ ได้รับโอนเงินค่าน้ํามันมาจากนายฮาวาย จึงได้สืบสวนรวบรวม พยานหลักฐานขออนุมัติศาลออกหมายจับนายฮาวาย และจับกุมตัวนายฮาวายได้ในพื้นที่ จว.ปทุมธานี จากการขยายผล พบว่า นายฮาวาย ได้รับการประสานจากนายหน้าในพื้นที่ จว.กาญจนบุรี โดยนายฮาวาย ทําหน้าที่เป็นนายหน้าจัดหา รถขนคนต่างด้าว จากพื้นที่ภาคกลางไปยังพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกับนายอนุรักษ์ หรือบอย โดยจะได้ส่วนต่างจากการติดต่อ จัดหารถหัวละ 1,000 บาท ซึ่งมีคดีที่พบความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับนายฮาวาย และนายอนุรักษ์ อีก 3 คดี ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2566 เจ้าหน้าที่ตํารวจทางหลวง, ตม.จว.พัทลุง และ สภ.นาขยาด ร่วมกันจับกุม นายอนุรักษ์ และ น.ส.เพ็ญ (ภรรยา) พร้อมพวกรวม 6 คน พร้อมชาวเมียนมาหลบหนีเข้าเมือง 58 คน ตรวจยึดรถกระบะ (รั้วคอก 3 คัน) จากการขยายผลพบว่านายอนุรักษ์ได้รับการติดต่อว่าจ้างมาจากนายหน้า ในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร ให้รับ คนต่างด้าวในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร ไปยัง จว.สงขลา โดยนายอนุรักษ์ได้รับงานขนคนต่างด้าว จากนายหน้ารายนี้มาแล้ว หลายครั้ง (ซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิสูจน์ทราบตัวบุคคล)
2. เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2567 เจ้าหน้าที่ตํารวจทางหลวง, ตม.จว.สุราษฎร์ธานี, สภ.ท่าฉาง ร่วมกันจับกุม นายวีระพล พร้อมชาวเมียนมาหลบหนีเข้าเมือง 15 คน และรถกระบะรั้วคอก 1 คัน เมื่อสืบสวนขยายผลพบว่านายวีระพล/ ผู้ต้องหา ได้รับการติดต่อว่าจ้างมาจากนายอนุรักษ์ ให้รับคนต่างด้าวในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร ไปยัง จว.สงขลา ในราคา 15,000 บาท ซึ่งผู้ต้องหาเคยติดต่อรับงานเช่นนี้มาแล้วหลายครั้ง เมื่องานสําเร็จจะได้รับเงินโอนค่าจ้างจากนายอนุรักษ์ โดยพบพยานหลักฐานต่าง ๆ ระหว่างผู้ต้องหากับนายอนุรักษ์ และนายหน้าในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร ต่อมาศาลจังหวัดไชยา อนุมัติหมายจับนายอนุรักษ์ เจ้าหน้าที่สืบสวนติดตามจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2567 ในความผิดฐาน “ช่วยเหลือซ่อนเร้นฯ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้พ้นการจับกุม”
เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2567 (วันเดียวกับคดีที่ สภ.ท่าฉาง) เจ้าหน้าที่ตํารวจทางหลวง, ตม.จว.นครศรีธรรมราช, สภ.ทุ่งสง ร่วมกันจับกุมนายอัสดา และภรรยา พร้อมชาวเมียนมาหลบหนีเข้าเมือง 11 คน ตรวจยึดระกระบะตู้ทึบ 1 คัน เมื่อสืบสวนขยายผลพบว่านายอัสดา/ผู้ต้องหา ได้รับการติดต่อว่าจ้างมาจากนายอนุรักษ์ ให้รับคนต่างด้าวในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร ไปยัง จว.สงขลา ในราคา 15,000 บาท ซึ่งผู้ต้องหาเคยติดต่อรับงานเช่นนี้มาแล้วหลายครั้ง เมื่องานสําเร็จจะได้รับเงินค่าจ้าง นอกจากนี้ยังพบพยานหลักฐานต่าง ๆ ระหว่างผู้ต้องหากับนายอนุรักษ์ และนายวีระพล ผู้ต้องหาในคดีที่ 3 ขณะนี้อยู่ในระหว่างพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีกับผู้ร่วมกระทําความผิด เพิ่มเติมในคดีนี้
จากการวิเคราะห์แผนประทุษกรรมในกลุ่มเครือข่ายนายอนุรักษ์ พบว่า กลุ่มเครือข่ายดังกล่าวมีความ เคลื่อนไหว มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 จนถึงปัจจุบัน โดยนายอนุรักษ์ และนางเพ็ญ (ภรรยา) เป็นผู้ประสานงานกับนายหน้า ชาวเมียนในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร และ นายฮาวาย ผู้ทําหน้าที่ประสานงานในพื้นที่ภาคกลาง โดยจะเป็นตัวกลางในการ ประสานงานทีมขนจาก จว.กาญจนบุรี หรือจว.สมุทรสาคร มายังพื้นที่ จว.สงขลา ซึ่งนายอนุรักษ์จะทําหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมขน และจะได้รับค่าตอบแทนหัวละ 3,500 บาท ซึ่งจะประสานงานกับกลุ่มรถขนจาก จว.สงขลา ไปยัง จว.นราธิวาส เพื่อลักลอบข้ามไปยังประเทศมาเลเซีย โดยพบความโยงกับเครือข่ายของนายซัฟยัน และกลุ่มผู้ต้องหา ที่ถูกจับกุมดําเนินคดีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปผลการปฏิบัติ พบการกระทําความผิดในเครือข่ายของนายอนุรักษ์ทั้งสิ้น 4 คดี จับกุมผู้ต้องหา 12 คน ขยายผลออกหมายจับ 3 คน (จับกุมทั้งหมด) จํานวนคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 102 คน ยึดยานพาหนะ 6 คัน จากการสืบสวนขยายผลยังพบว่าเครือข่ายนายอนุรักษ์ มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายที่ สตม. ร่วมกับ บก.ทล., บก.ปคม. ภ.7, 8, 9 และหน่วยงานความมั่นคง ร่วมกันสืบสวนขยายผลการลักลอบขนคนต่างด้าวที่ใช้เส้นทาง ด้าน อ.สังขละบุรี จว.กาญจนบุรี ได้แก่ เครือข่ายนายวิทยา จับกุมเมื่อวันที่ 5 เม.ย.2566 พื้นที่ สภ.เมืองกาญจนบุรี, เครือข่ายซูก้า-นิตาเว จับกุมเมื่อวันที่ 4 เม.ย.2566 พื้นที่ สภ.ทุ่งตะโก จว.ชุมพร และเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2566 พื้นที่ สภ.ทองผาภูมิ จว.กาญจนบุรี, เครือข่ายวุธ แม่กลอง จับกุมเมื่อวันที่ 7, 25 มิ.ย.2566 พื้นที่ สภ.รัตภูมิ จ.สงขลา และ เครือข่ายลักลอบขนคนต่างด้าวที่ใช้เส้นทางผ่าน จว.ตาก ได้แก่ เครือข่ายซูซูมา จับกุมเมื่อวันที่ 15 มี.ค.2566 พื้นที่ สภ.บางกล่ํา จ.สงขลา โดยความเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ มีการกระทําความผิดในลักษณะขบวนการ ที่มีการแบ่งหน้าที่ กันทํา (นายหน้าประสานงานแนวชายแดน/นายหน้าประสานงานพื้นที่ชั้นใน จว.กาญจนบุรี-ปทุมธานี-สมุทรสาคร- สงขลา-จชต. (จัดหารถ)/ผู้ดูแลจุดพักคอย/หัวหน้าทีมขน-ทีมขน (ตอนบน/ตอนล่าง) ซึ่ง สตม. ได้ร่วมกับ ภ.7,8,9, บช.ก. เฝ้าระวังกลุ่มขบวนการดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จนนํามาสู่การจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาของในเครือข่ายนายอนุรักษ์ ซึ่งชุดสืบสวน สตม. จะได้ดําเนินการขยายผลเพื่อนําผู้กระทําความผิดที่เกี่ยวข้องมาดําเนินคดีต่อไป
ผู้สนับสนุน