ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ แถลงผลการปฏิบัติตามยุทธการ “ปิดประตูตีแมว”

ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ แถลงผลการปฏิบัติตามยุทธการ “ปิดประตูตีแมว”

ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ แถลงผลการปฏิบัติตามยุทธการ “ปิดประตูตีแมว”

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๓๐ น.
ณ บริเวณลานหน้าอาคารที่ทำการ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ประกอบกับในปัจจุบันเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอเขาค้อ และภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจะมีกิจกรรมต่างๆ จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงดนตรี หรือการนัดหมายรวมตัวของกลุ่มบุคคลต่างๆ เพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การตั้งแคมป์ เป็นต้น และเมื่อวันที่ ๗ – ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมานั้น ได้มีกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์จำนวนมาก ซึ่งได้นัดหมายกันตามสื่อสังคมออนไลน์ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีการแยกกันเดินทางเป็นกลุ่มๆ โดยมีการใช้รถจักรยานยนต์ที่ ส่วนใหญ่เป็นรถดัดแปลงสภาพ มีพฤติการณ์ขับขี่รวมตัวกันส่งเสียงดัง ก่อความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวกันทั่วไปเป็นวงกว้าง ดังปรากฏตามสื่อสังคมออนไลน์ และข่าวที่สื่อมวลชนได้นำเสนอ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้ร่วมกับฝ่ายปกครอง และทหาร เปิดยุทธการ “ปิดประตู ตีแมว” เพื่อป้องกัน กวดขัน จับกุม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการแข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เป็นต้นมา มีผลการปฏิบัติดังนี้
– จับกุมผู้กระทำความผิด จำนวน ๒๕๗ ราย
– ตรวจยึดรถจักรยานยนต์ จำนวน ๒๑๖ คัน
– มีการดำเนินการกับบิดา/มารดา/ผู้ปกครอง จำนวน ๕ ราย
– มีการตรวจค้น/ประชาสัมพันธ์/หรือจับกุม ร้านขาย/ดัดแปลง รถหรืออุปกรณ์ จำนวน ๓๕ ราย
ซึ่งในการดำเนินการตามยุทธการ “ปิดประตูตีแมว” จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ โดยมีมาตรการ ดังนี้
– ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ ทุกพื้นที่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมทั้งจัด ชุดเคลื่อนที่เร็ว เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์แข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เตรียมพร้อมในการเข้าปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีเหตุ
– กรณีผู้กระทำความผิดเป็นเด็ก หรือเยาวชน ให้แจ้งบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เข้ามารับทราบการกระทำของเด็กและเยาวชนดังกล่าว เพื่อให้คำแนะนำ ตักเตือน ทำทัณฑ์บน วางข้อกำหนด และหากพบว่ามีการกระทำความผิดซ้ำอีก จะพิจารณาดำเนินคดีกับบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต่อไป

คุณ ศุภผล จริงจิตร
ผอ.ภ.6 นิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า