สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป”

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป”

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป”

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1–8 เมษายน 2567 จากประชาชนผู้ใช้รถยนต์สันดาปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้รถยนต์สันดาป ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 77.74 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 22.26 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต โดยกลุ่มที่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต ร้อยละ 73.14 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากราคาค่าชาร์จไฟฟ้าที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน ร้อยละ 14.52 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์สันดาป และร้อยละ 12.34 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในขณะที่กลุ่มที่ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต ร้อยละ 55.24 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากไม่มั่นใจในระบบความปลอดภัย รองลงมา ร้อยละ 22.16 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากสถานีที่ชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนน้อย ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากกังวลเรื่องระยะเวลาชาร์จที่นาน และร้อยละ 6.94 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากค่าภาษีรถยนต์และค่าประกันภัยที่สูงกว่ารถยนต์สันดาป
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้รถยนต์สันดาปที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในกลุ่มผู้สนใจจะซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเกี่ยวกับประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.22 ระบุว่า ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุดคือ รถยนต์ไฟฟ้า 100 % (BEV) รองลงมา ร้อยละ 24.32 ระบุว่า ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุดคือ รถไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) และร้อยละ 12.46 ระบุว่า ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุดคือ รถไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)
ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้รถยนต์สันดาปที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในกลุ่มผู้สนใจจะซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเกี่ยวกับรูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่ท่านอยากเป็นเจ้าของมากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 65.44 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถยนต์ซีดาน รองลงมา ร้อยละ 22.36 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถยนต์อเนกประสงค์ (SUV) ร้อยละ 8.52 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถกระบะและ และร้อยละ 3.68 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถยนต์อเนกประสงค์
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 11.05 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 10.38 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 15.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 10.98 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 50.30 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.70 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.95 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.71 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.29 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 21.88 อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 16.32 อายุ 56-65 ปี และร้อยละ 9.85 อายุ 65 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.49 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.33 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 2.18 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.49 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.53 สถานภาพสมรส และร้อยละ 10.98 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.47 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 43.31 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.89 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.38 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.95 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.45 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.14 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.95 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.05 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 22.63 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 9.77 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.23 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.91 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.47 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.10 ไม่ระบุรายได้
สำหรับความเห็นของ อาจารย์เลอชัย กิรสมุทรานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและโลจิสติกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ให้ความเห็นเพิ่มเติมในกรณีนี้ว่า ในปัจจุบันเทรนด์รถไฟฟ้าถือว่ามาแรงอย่างมาก เนื่องจากราคาของรถยนต์ไฟฟ้าไม่แตกต่างกับรถยนต์สันดาป ราคาของเชื้อเพลิงที่ต่ำ การบำรุงรักษาค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรถสันดาป และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในสภาวะสังคมที่มีค่าครองชีพสูง ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากเมื่อเทียบกับรถสันดาป แต่ยังคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ในระยะยาวในเรื่องของความเสถียรภาพของระบบขับขี่ การขยายตัวของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และเวลาในการชาร์จต่อหนึ่งรอบสำหรับการเดินทาง เพื่อเพิ่มความมั่นใจและตอบสนองให้ทันการเติบโตของผู้ใช้งาน

ขอขอบคุณผู้สนับสนุน

คุณ สถาพร แสงทอง

บรรณาธิการ นสพ.นินจาบางกอก รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า