สมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย จัดงานประเพณีจีน ” วันง่วนเซียว ” (เทศกาลโคมไฟ) ประจำปี 2567

สมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย จัดงานประเพณีจีน ” วันง่วนเซียว ” (เทศกาลโคมไฟ) ประจำปี 2567

สมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย จัดงานประเพณีจีน ” วันง่วนเซียว ” (เทศกาลโคมไฟ) ประจำปี 2567

เมื่อเวลา 17:00 น.วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ ห้องจัดเลี้ยง ชั้น 3 สมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย เลขที่ 93 ซอย ศรีบำเพ็ญ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการผู้บริหารสมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย ได้ร่วมจัดงาน ” วันง่วนเซียว ” (เทศกาลโคมไฟ) ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยในวันนี้มีคณะผู้บริหารสมาคม และสมาชิกเครือข่ายของทางสมาคมจากสถานที่ต่างๆ ได้มาร่วมในงานฯ โดยมี ท่าน ดร.กิตติ อิทธิภากร นายกกิตติมศักดิ์ถาวร (ผู้ใหญ่ในงาน) พร้อมด้วย คุณ ซิน จื๋อ เฉิน นายกสมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย มอบหมายให้ คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ รองนายกสมาคมฯ (เป็นประธานในพิธีฯ), คุณ จึง เฮี่ยว เตี้ยง รองนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการผู้บริหารสมาคม รวมถึงคณะสมาชิกสมาคมเหยี่ยวเพ้ง จากสาขานครราชสีมา, สาขาชุมพร, สาขาสมุทรสาคร และสาขารังสิต เข้าร่วมในงาน ” วันง่วนเซียว ” (เทศกาลโคมไฟ) ประจำปี 2567

และในวันนี้ยังได้รับเกียรติจากทาง พ.ต.อ.พนม เชื้อทอง ผกก.สน.ทุ่งมหาเมฆ พร้อมข้าราชการตำรวจ สน.ทุ่งมหาเมฆ เดินทางนำของขวัญมาเข้าร่วมสนับสนุนในการจับสลากให้กับผู้เข้าร่วมในงาน รวมถึงอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและดูแลความปลอดภัย
บรรยากาศภายในงานวันนี้เปี่ยมด้วยรอยยิ้มและความสุขของสมาชิกที่ได้เดินทางเข้าร่วมในงาน โดยมีพิธีการในงานจาก ท่าน ดร.กิตติ อิทธิภากร นายกกิตติมศักดิ์ถาวร

ได้ขึ้นกล่าวในฐานะผู้ใหญ่ในงาน กล่าวถึงการจัดงานประเพณี วันง่วนเซียว ในอดีต ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นประจำในทุกปี และหลังจากนั้นได้มีการว่างเว้นมานาน และในโอกาสนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และได้กล่าวถึงคนรุ่นใหม่ให้มีความสามัคคีในการช่วยกันรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของเราชาวจีนให้คงอยู่ต่อไป
จากนั้น คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ รองนายกสมาคมฯ

ซึ่งได้รับมอบหมายจาก คุณ ซิน จื๋อ เฉิน นายกสมาคมเหยี่ยวเพ้งแห่งประเทศไทย ให้เป็นประธานในพิธีฯในวันนี้เนื่องด้วยจากติดภาระกิจอยู่ที่ประเทศจีน ขึ้นกล่าวเปิดงานและมอบคำอวยพรให้กับสมาชิกที่เดินทางมาเข้าร่วมในงาน
ภายหลังจากการกล่าวเปิดพิธีและได้รับคำอวยพรที่เป็นมงคล
ต่อจากนั้น คุณ จึง เฮี่ยว เตี้ยง รองนายกสมาคมฯ

ได้ขึ้นกล่าวอวยพรให้กับสมาชิกสมาคมเหยี่ยวเพ้งจากสาขาต่างๆที่เดินทางมาร่วมในงาน และด้านบนเวทีได้มีการขับร้องเพลงสลับกับการจับรางวัล มอบให้กับผู้ที่เดินทางมาร่วมในงานโดยได้รับรางวัลกันอย่างทั่วทุกคน สมาชิกฯได้รับประทานอาหาร และสนุกกับบรรยากาศในการลุ้นรางวัลกันทั่วทุกท่านตลอดจนกระทั่งจบงาน

” วันง่วนเซียว ” หรือเทศกาลหยวนเซียว (元宵节) หรือเทศกาลโคมไฟจีน มีประวัติย้อนหลังไปกว่า 2,000 ปี โดยถือว่าเป็นวันที่สิ้นสุดการเฉลิมฉลองวันตรุษจีน โดยปกติจะตรงกับวันที่ 15 ของเดือนจันทรคติ (正月十五日) กล่าวกันว่าเทศกาลนี้ มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (汉朝) เมื่อผู้นำทางทหารทำการเซ่นไหว้ดวงจันทร์ และอธิษฐานขอสันติภาพ จวบจนเมื่อเวลาผ่านไป มันได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองความสามัคคี ชุมชน และการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ ในเทศกาลนี้เฉลิมฉลองด้วยการกินข้าวปั้น (元宵) ไขปริศนาโคมไฟ (猜灯谜) เชิดมังกรและสิงโต และจุดโคมไฟ อีกทั้งวันนี้ยังคงเป็นวันหยุดตามประเพณีที่สำคัญของจีนและได้รับการเฉลิมฉลองทั่วโลกในกลุ่มชุมชนชาวจีน และช่วงวัน ” ง่วนเซียว ” หรือเทศกาลหยวนเซียว ก็ยังมีธรรมเนียมการรับประทานข้าวปั้น โดยเรียกว่า (元宵) เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความหมายของความกลมเกลียวและความสามัคคี โดยกล่าวกันว่าข้าวปั้นรูปทรงกลมเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์ และมีความหมายในการนำครอบครัวและชุมชนมารวมกัน และข้าวปั้นยังเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและความโชคดีในปีต่อไปอีกด้วย ส่วนไส้หวานที่อยู่ภายในข้าวปั้นเป็นตัวแทนของชีวิตที่หอมหวาน และการรับประทานมันก็เป็นวิธีการขอพรให้มีความสุขและอนาคตที่สดใส โดยรวมแล้ว ข้าวปั้นมีบทบาทสำคัญในการเฉลิมฉลองและมีความหมายทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่สำคัญในช่วงเทศกาลหยวนเซียว และสัญลักษณ์ที่ซ่อนไว้กับโคมไฟที่ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าในช่วงเทศกาลหยวนเซียว ก็คือสัญลักษณ์ที่บอกถึงการปลดปล่อยปัญหา ความกังวล และสิ่งที่ไม่ดีในปีที่ผ่านมาให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่าการทำเช่นนี้จะสามารถเริ่มต้นปีใหม่ด้วย
การจุดโคมและเฝ้าดูโคมลอยยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง การมองโลกในแง่ดี และการขอพรให้โชคดีในปีหน้า ส่วนในตัวของโคมไฟมักจะประดับด้วยคำอธิษฐานและความปรารถนาดี
การปล่อยโคมไฟลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นวิธีการส่งคำอธิษฐานเหล่านั้นไปถึงบรรพบุรุษและเทพเจ้าเพื่อขอความคุ้มครองและอวยพร โดยรวมแล้ว การปล่อยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้าในช่วงเทศกาล หยวนเซียวเป็นส่วนสำคัญของการเฉลิมฉลองและมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณอย่างมาก ( คล้ายๆกับเทศกาลงานประเพณียี่เป็งทางเชียงใหม่ )
” วันง่วนเซียว ” หรือเทศกาลหยวนเซียว ถือเป็นวันหยุดของครอบครัวที่สำคัญในประเทศจีนด้วยมีตรรกะในหลายประการคือ
☆ เป็นประเพณี หรือเทศกาลนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมและประเพณีของจีน ที่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับครอบครัว ที่จะได้มาร่วมเฉลิมฉลองกัน
☆ ความสามัคคี โดยเป็นเทศกาลส่งเสริมความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว และเมื่อครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อกินข้าวปั้น และไขปริศนาโคมไฟ รวมถึงปล่อยโคมไฟลอยขึ้นสู่บนท้องฟ้า
☆ การบูชาบรรพบุรุษ โดยเทศกาลนี้ มีความเกี่ยวข้องกับการบูชาบรรพบุรุษ และถือเป็นโอกาสที่ครอบครัวจะให้เกียรติระลึกถึงบรรพบุรุษ และขอพรรวมถึงการปกป้องสำหรับปีที่จะมาถึง
☆ ในด้านโชคลาภ ซึ่งในการจัดเทศกาลนี้ขึ้นมา มีความเชื่อว่าจะนำความโชคดีและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่คนในตระกูลและครอบครัว จึงถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับคนครอบครัว ที่จะมาร่วมเฉลิมฉลองและขอพรให้กับอนาคตอันสดใส
โดยรวมแล้ว ” วันง่วนเซียว ” หรือเทศกาลหยวนเซียวเป็นวันหยุดของครอบครัวที่สำคัญในประเทศจีน เนื่องจากเป็นการเฉลิมฉลองความสามัคคี ประเพณี และความสำคัญของครอบครัว รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรม เป็นเวลาที่ครอบครัวจะมารวมตัวกัน แบ่งปันประเพณี และอธิษฐานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า รวมถึงความสำคัญทางวัฒนธรรมของการไขปริศนาโคมไฟ และการไขปริศนาโคมไฟในช่วงเทศกาลหยวนเซียว เป็นประเพณีทางวัฒนธรรมที่สำคัญซึ่งมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญ เชื่อกันว่าจะนำความโชคดี สติปัญญา และความหยั่งรู้มาสู่ปีที่จะมาถึง ปริศนาที่มักเขียนบนโคมไฟมีตั้งแต่ปริศนาง่ายๆ ไปจนถึงการพัฒนาสมองให้มีความปราดเปรื่องและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยผู้คนในทุกเพศทุกวัยสามารถร่วมในการไขปริศนาเหล่านี้ และยังถือว่าเป็นวิธีการฝึกฝนจิตใจ และส่งเสริมความว่องไวทางจิต ซึ่งถือว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวัฒนธรรมชาวจีน
นอกจากนี้ การไขปริศนาโคมไฟยังเป็นวิธีการสานสัมพันธ์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและชุมชนอีกด้วย โดยผู้เข้าร่วมในงาน ร่วมกันเพื่อไขปริศนา มักจะเป็นการแข่งขันที่เป็นมิตร และการแก้ปริศนานั้นถูกมองว่าเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและความร่วมมือ
ในภาพรวมแล้ว การไขปริศนาโคมไฟในช่วงเทศกาลหยวนเซียวเป็นประเพณีทางวัฒนธรรมที่สำคัญซึ่งมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญ เป็นการฝึกฝนจิตใจส่งเสริมความสามัคคีและขอให้โชคดีและสติปัญญาในปีต่อไป

ขอขอบคุณผู้สนับสนุน

ขอขอบคุณ
คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ รองนายกสมาคมฯ/ ที่ปรึกษานิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน


สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า