รัฐบาล มอบหมายให้ ทส.เผยแพร่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”

รัฐบาล มอบหมายให้ ทส.เผยแพร่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”

รัฐบาล มอบหมายให้ ทส.เผยแพร่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”

นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวานนี้ (23 มกราคม 2563) มีมติให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” โดยมอบอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการแก้ปัญหาช่วงค่าฝุ่นวิกฤต พร้อมการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยการบูรณาการการดําเนินงานรวมกันในทุกภาคส่วน โดยแผนดังกล่าว มีขั้นตอน/การปฏิบัติงานที่ชัดเจนในช่วงสถานการณ์วิกฤตปัญหาฝุ่นละออง ด้วย 3 มาตรการ ได้แก่

(1) การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
ในช่วงระหว่างเกิดสถานการณ์วิกฤต (ธันวาคม – เมษายน) เป็นขั้นปฏิบัติการช่วงปริมาณ PM2.5
เกินมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอํา นาจหน้าที่สามารถปฏิบัติได้ทันทีตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ฝุ่นละอองโดยได้กําหนดเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้ส่วนราชการทุกหน่วยต้องดํา เนินการตามภารกิจ อํานาจหน้าที่ และกฎหมายที่มีอยู่ให้ครบถ้วนตามสภาวการณ์ปกติ

ระดับที่ 2 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 51 – 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ให้ทุกส่วนราชการต้องดําเนินการเพิ่มและยกระดับมาตรการต่างๆ ให้เข้มงวดขึ้น ในระดับนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ สําหรับส่วนราชการอื่นๆเป็นหน่วยสนับสนุนในการปฏิบัติการ

ระดับที่ 3 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 76 – 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้เป็นอํานาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองในการใช้กฎหมายที่มีอยู่ เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ. 2550 เป็นต้น

ระดับที่ 4 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่ามากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แนวทางปฏิบัติกําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วน
พิเศษ และพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยจะต้องนํา กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาในการสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นแนวทางหรือมาตรการในการลดมลพิษ

(2) การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกําเนิด) มุ่งให้ความสําคัญในการควบคุมและลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิดรวมถึงลดจํานวนแหล่งกําเนิดมลพิษ มีมาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567)

2.1 ควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ มาตรการระยะสั้น เช่น ส่งเสริมให้มีการนําน้ำมันเชื้อเพลิงมีกํามะถันไม่เกิน 10 ppm มาจําหน่ายก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 5 ภายในปี2564 ให้เร่งรัดให้มีการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ เป็นต้น มาตรการระยะยาว เช่นปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกํามะถันไม่เกิน 10 ppm ให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2566 และบังคับใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกํามะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 6 ภายในปี2565 สนับสนุนส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

2.2 ควบคุมและลดมลพิษจากการเผาในที่โล่ง/ภาคการเกษตร มาตรการระยะสั้น เช่น ส่งเสริมให้มีการจัดการเศษวัสดุทางการทําเกษตร โดยการนํามาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ห้ามไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ชุมชน ริมทาง และเผาขยะโดยเด็ดขาด กำหนดพื้นที่ปลอดการเผาอ้อยเพื่อเป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อย เป็นต้น มาตรการระยะยาว เช่นให้มีการกําหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการจัดการเศษวัสดุจากการทําเกษตรประเภทต่างๆ พิจารณาการพัฒนาระบบหรือยกระดับโดยผนวกมิติด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการกําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นต้น

2.3 ควบคุมและลดมลพิษจากการก่อสร้างและผังเมือง มาตรการระยะสั้น เช่น กําหนดกฎระเบียบมาตรการและเกณฑ์ปฏิบัติที่ดีในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างประเภทต่างๆ ส่งเสริมให้มีการจัดทํา ผังเมืองและการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ต้องคํา นึงถึงปัจจัยที่จะมีผลต่อการระบายอากาศและการสะสมของมลพิษทางอากาศ เป็นต้น มาตรการระยะยาว เช่น ส่งเสริมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองให้ได้ตามมาตรฐานสากล

2.4 ควบคุมและลดมลพิษจากอุตสาหกรรม มาตรการระยะสั้น เช่นกําหนดมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศในรูป Loading ในพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละอองโดยคํานึงถึงความสามารถหรือศักยภาพในการรองรับมลพิษทางอากาศของพื้นที่ การจัดทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ เป็นต้น มาตรการระยะยาว เช่น ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

2.5 ควบคุมและลดมลพิษจากภาคครัวเรือน มาตรการระยะสั้น และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567) โดยเป็นการดําเนินงานต่อเนื่องในการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน พัฒนาและส่งเสริมการใช้เตาหุงต้มและเตาปิ้งย่างปลอดมลพิษ พัฒนาและส่งเสริมการใช้เตาเผาอิฐและถ่านปลอดมลพิษ

และ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการ รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกํา หนดแนวทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567)

3.1 พัฒนาเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ โดยเป็นการดํา เนินงานต่อเนื่องในการขยายเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและให้ท้องถิ่นติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ของตนเอง พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการดํา เนินการติดตามการตรวจสอบคุณภาพอากาศเพื่อให้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่

3.2 ทบทวน/ปรับปรุงกฎหมาย/มาตรฐาน/แนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบด้วย
การกําหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ยรายปีให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก(WHO IT-3) การปรับปรุง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 รวมทั้งศึกษาความเหมาะสม

3.3 ส่งเสริมการวิจัย/พัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการติดตามตรวจสอบ การตรวจวิเคราะห์และนวัตกรรมเพื่อลดมลพิษทางอากาศ เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศ รวมถึงเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดองค์ความรู้

3.4 การแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดน เช่นการขับเคลื่อนการดํา เนินงานตามข้อตกลงเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน : ขับเคลื่อนการดํา เนินงานตามโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Transboundary Haze – Free Roadmap) การขับเคลื่อนการดํา เนินงานตามข้อตกลงเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน : ขับเคลื่อนการดํา เนินงานตามโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Transboundary Haze – Free Roadmap) เป็นต้น

3.5 จัดทําบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด เช่นการจัดทําบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกํา เนิดเป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกําหนด/ปรับปรุงแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ

3.6 พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเฝ้าระวังที่เป็นหนึ่งเดียว บูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบทั้งแหล่งกํา เนิด ปริมาณมลพิษในบรรยากาศ และผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อการวางแผนการบริหารจัดการและสื่อสารแจ้งเตือน พัฒนาระบบ เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศและการรายงานผล สร้างความเข้มแข็งของประชาชน ชุมชนในการดูแลป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ

3.7 พัฒนาระบบคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองมาตรการ ระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) ประกอบด้วยการพัฒนาระบบคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการทบทวน/ปรับปรุงมาตรการและแนวทางการดํา เนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษในระยะต่อไป

ทั้งนี้แผนดังกล่าว ได้เรียบเรียงข้อมูลรายละเอียดความเป็นมา สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นละออง ขั้นตอนการจัดทำแผน และแผนปฏิบัติการที่มีกรอบแนวคิด ตัวชี้วัด มาตรการและแนวทางการดำเนินงานพร้อมหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างละเอียด ประชาชนสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1AFVihKp925HKegO_UEYK_3k8kGBLWmue/view หรือ ที่เฟซบุ๊คแฟนเพจ กรมควบคุมมลพิษ หรือ คิวอาร์โค้ด ข้างล่างนี้ได้

คุณ มนู พุทธิมูล
หัวหน้าข่าว ภ.5 นิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า