วัดอรุณราชวราราม จัดพิธีปฏิบัติธรรม รักษาศีลอุโบสถ อบรมจิตตภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนรอบพระพุทธปรางค์ เนื่องในวันมาฆบูชา

วัดอรุณราชวราราม จัดพิธีปฏิบัติธรรม รักษาศีลอุโบสถ อบรมจิตตภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนรอบพระพุทธปรางค์ เนื่องในวันมาฆบูชา

วัดอรุณราชวราราม จัดพิธีปฏิบัติธรรม รักษาศีลอุโบสถ อบรมจิตตภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนรอบพระพุทธปรางค์ เนื่องในวันมาฆบูชา

วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ณ วัดอรุณราชวราราม เลขที่ ๑๕๘ ถนน วังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พระเดชพระคุณ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ได้เมตตาให้ พุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีปฏิบัติธรรม รักษาศีลอุโบสถ ทำวัตรเช้า- ทำวัตรค่ำ อบรมจิตตภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนรอบพระพุทธปรางค์ เนื่องในวันมาฆบูชา โดยในภาคเช้า
เวลา ๐๙.๐๐ น. พระภิกษุและสามเณรได้เข้าทำวัตรเช้า พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ร่วมในพิธีทำวัตรเช้า อาราธนาศีลอุโบสถ โดยมีพระมหาบุญรุ่ง สิริโชติ ป.ธ.๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ได้แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ในเรื่อง มาฆปุรณมีกถา
หลังจากนั้นพุทธศาสนิกชน และชาวต่างชาติได้เดินเที่ยวชมรอบพระปรางค์ และเข้ากราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดอรุณราชวราราม
จากนั้นในช่วงภาคค่ำ

เวลา ๑๙.๐๐ น. พระภิกษุและสามเณรได้เข้าทำวัตรเย็น ในพระวิหาร และมีพระศรีสุทธิเวที ผศ.ดร.ป.ธ.๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ได้แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ในเรื่อง มาฆปุรณมีกถา ต่อจากนั้น

เวลา ๑๙.๓๐ น. พุทธศาสนิกชน พร้อมกันเวียนเทียนรอบพระพุทธปรางค์
มากล่าวถึงประวัติวันมาฆบูชา โดยย่อ วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประชาชนชาวไทย
โดยวันมาฆบูชา เมื่อครั้งในอดีตเรียกว่า วันมาฆปุณณมี ซึ่งหมายถึง วันที่พระจันทร์เพ็ญเต็มดวงในเดือนมาฆะ ส่วนมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งวันมาฆบูชานี้ เป็นวันที่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และมีเหตุอัศจรรย์พร้อมกัน ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมกันด้วย องค์ ๔ และในวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเราถือกันว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้ายเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
“มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า”มาฆบุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือนแปดสองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งในพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันและพระสงฆ์ ทั้งหมดได้เป็นพระอรหันต์
ผู้ได้อภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า และในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมต่อสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส
ความเป็นมาวันมาฆบูชา
ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือน ขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต
คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
“จาตุร” แปลว่า ๔
“องค์” แปลว่า ส่วน
“สันนิบาต” แปลว่า ประชุม
ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
๑.เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒.พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓.พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
๔.เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์

ขอกราบอนุโมทนาบุญ
ท่าน พระครูปลัดสุวัฒนรัตนคุณ ดร. (ชุมพรนิติสาโร)
🙏เลขานุการเจ้าคณะภาค ๙
🙏ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
🙏เลขานุการวัดอรุณราชวราราม
แหล่งที่มาข้อมูลข่าวสาร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า