กรมศุลกากรแถลงผลงานในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2566

กรมศุลกากรแถลงผลงานในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2566

กรมศุลกากรแถลงผลงานในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2566

เวลา 14.00 น.วันที่ 25 เมษายน 2566 นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร แถลงผลงานในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2566 โดยมีผลการจัดเก็บรายได้ ผลการตรวจพบการกระทำความผิดทางกฎหมายศุลกากร และแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับการแอบอ้างชื่อกรมศุลกากรในการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ณ ศูนย์แถลงข่าว ชั้น 2 กรมศุลกากร กรุงเทพมหานคร
นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรมีภารกิจในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ โดยการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) มีผลงานที่น่าสนใจดังนี้
1. การจัดเก็บรายได้กรมศุลกากรในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566)
1.1 การจัดเก็บรายได้ศุลกากร เดือนมีนาคม 2566 กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 60,416 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 274 ล้านบาท (ปีก่อน 60,141 ล้านบาท) หรือร้อยละ 0.5
สำหรับการจัดเก็บรายได้ศุลกากร 11,187 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,411 ล้านบาท (ปีก่อน 9,775 ล้านบาท) หรือร้อยละ 14.4 และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,987 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 21.6
1.2 การจัดเก็บรายได้ศุลกากร ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 346,577 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 26,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.2
สำหรับการจัดเก็บรายได้ศุลกากร 67,322 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 14,282 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.9 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าขยายตัว ประกอบกับมีการชำระอากรตามคำพิพากษาคดี และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,622 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 27.7
ในด้านการจัดเก็บแทนหน่วยงานอื่น 279,255 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 12,013 ล้านบาท (ปีก่อน 267,242 ล้านบาท) หรือร้อยละ 4.5 มีรายละเอียดดังนี้
– จัดเก็บแทน กรมสรรพากร 206,535 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 3,794 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9
– จัดเก็บแทน กรมสรรพสามิต 45,247 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 7,089 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.6
– จัดเก็บแทน กระทรวงมหาดไทย 27,473 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,130 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.3
โดยสินค้านำเข้าหลักที่จัดเก็บอากรได้สูง ได้แก่ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบยานยนต์ ยารักษาโรค เครื่องสำอาง และกระเป๋า
2. ผลการตรวจพบการกระทำความผิดทางกฎหมายศุลกากรในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566)
กรมศุลกากร มีนโยบายในการเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ยาเสพติด สินค้าเกษตร น้ำมัน IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา CITES โดยสืบสวนหาข่าวและออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตรวจค้นรถบรรทุก โกดัง แหล่งจำหน่าย สถานที่เก็บรักษาที่เชื่อได้ว่ามีของผิดกฎหมายเก็บซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังมีแผนการป้องกันและปราบปรามสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการลักลอบนำเข้า-ส่งออกสินค้า นอกจากนี้
มีการบูรณาการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทหาร กอ.รมน. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สถานทูตต่าง ๆ องค์การตำรวจสากล (Interpol) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration: DEA) เป็นต้น
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวระหว่างกัน ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 มีการจับกุมจำนวน 16,529 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 1,777,600,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 สถิติการจับกุมยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีทั้งหมด 98 คดี น้ำหนัก 32,773 กิโลกรัม มูลค่า 893,331,277 บาท มีผลงานสำคัญดังนี้
– เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานศุลกากรหนองคาย ตรวจค้นรถบรรทุกน้ำมัน (เปล่า) ผลการตรวจพบ ยาเสพติดซุกซ่อนมาในถังน้ำมัน (เปล่า) ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวน 3,860,000 เม็ด ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ไอซ์) จำนวน 10 กิโลกรัม และยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาอี) จำนวน 5,000 เม็ด มูลค่า 122,300,000 บาท
– เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ร่วมกับกองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร และหน่วยงานด้านการปราบปรามและสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ท่าเรือ (Seaport Interdiction Task Force : SITF) ตรวจสอบสินค้าต้องสงสัยที่มีความเสี่ยงสูงในการลักลอบลำเลียงยาเสพติดไปยังต่างประเทศ โดยสำแดงชนิดสินค้าเป็นเครื่องผสมแป้งโด (DOUGH MIXER MACHINE WITH ELECTRIC) ส่งออกทางท่าเรือกรุงเทพ ประเทศไทย ปลายทางบริสเบน (BRISBANE) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตรงกับเงื่อนไขความเสี่ยง (Local Profile) เบื้องต้นจากผลการวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์พบความผิดปกติภายในสินค้า จึงได้ดำเนินการตรวจสอบทางกายภาพโดยละเอียด พบยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 (เฮโรอีน) ในลักษณะซุกซ่อนภายในเครื่องผสมแป้งโด น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้มประมาณ 45 กิโลกรัม มูลค่า 135,000,000 บาท
– เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กองสืบสวนและปราบปราม ร่วมกับ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ กรมศุลกากร และหน่วยงานด้านการปราบปรามและสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ท่าเรือ (Seaport Interdiction Task Force : SITF) ตรวจสอบสินค้าต้องสงสัยที่มีความเสี่ยงสูงในการลักลอบลำเลียงยาเสพติดไปยังต่างประเทศ โดยสำแดงชนิดสินค้าเป็นพรม (THAI PURE COTTON CARPET) ส่งออกทางท่าเรือกรุงเทพ ประเทศไทย ปลายทางฮ่องกง จากผลการวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์พบความผิดปกติ จึงได้ดำเนินการตรวจสอบทางกายภาพโดยละเอียด พบยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไอซ์ (เมทแอมเฟตามีน) ในลักษณะซุกซ่อนในแผ่นพลาสติกใสม้วนอยู่ภายในพรม น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้มประมาณ 51 กิโลกรัม จึงได้ร่วมกับหน่วย SITF โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) และศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย (ศรภ.) ตรวจยึดพร้อมทั้งขยายผลต่อจนพบเฮโรอีน 30.46 กิโลกรัม เมทแอมเฟตามีน 86.02 กิโลกรัม มูลค่า 142,932,000 บาท
2.2 สถิติการจับกุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยาเสพติด มีทั้งหมด 5 คดี น้ำหนัก 375,986 กิโลกรัม มูลค่า 21,887,555 บาท มีผลงานสำคัญดังนี้
– เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตรวจพบ โซเดียมไซยาไนด์ (SODIUM CYANIDE BRIQUETTE 98%) จำนวน 220,000 กิโลกรัม เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ทั้งนี้ ตัวแทนผู้ส่งออกได้แสดงหนังสือใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย พบว่าใบอนุญาตที่นำมาแสดงระบุให้ใช้ได้ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 โดยสินค้าดังกล่าวมีกำหนดส่งออกต่างประเทศ โดยเรือ เที่ยววันที่ 10-11-2565 จึงเป็นการส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 220,000 กิโลกรัม มูลค่า 20,064,000 บาท
– เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตรวจพบ สินค้าเป็นกรดซัลฟิวริก (SULFURIC ACID 98%) เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ทั้งนี้ ผู้ขอผ่านแดนมิได้นำใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย มาแสดงในขณะปฏิบัติพิธีการศุลกากรแต่อย่างใด จึงเป็นการนำเข้าสินค้าผ่านแดนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 131,670 กิโลกรัม มูลค่า 1,113,840 บาท
2.3 สถิติการจับกุมเนื้อสุกรแช่แข็ง มีทั้งหมด 13 คดี น้ำหนัก 4,655,442 กิโลกรัม มูลค่า 240,549,640 บาท มีผลงานสำคัญ ดังนี้
– เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 กรมศุลกากร โดย กองสืบสวนและปราบปราม ได้เข้าตรวจค้นห้องเย็น ที่จังหวัดสมุทรสาคร พบเนื้อสุกรแช่แข็ง โดยไม่พบเอกสารเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากรเอกสารใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรมาแสดง จำนวน 83,400 กิโลกรัม มูลค่า 5,838,000 บาท
– เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 กรมศุลกากร โดย ด่านศุลกากรสะเดาร่วมกับทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 5 ได้ทำการตรวจค้นบริเวณลานขนถ่ายสินค้า จังหวัดสงขลา พบรถต้องสงสัยกำลังมีการขนถ่ายสินค้าจึงขอตรวจค้น พบเนื้อสุกรแช่แข็งมีถิ่นกำเนิดประเทศบราซิล โดยไม่พบเอกสารเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากรเอกสารใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรมาแสดง น้ำหนัก 30,000 กิโลกรัม มูลค่า 4,290,000 บาท รวมถึงการเปิดตรวจตู้คอนเทนเนอร์ที่ตกค้างอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งกรมศุลกากรได้ทำการทยอยเปิดตู้คอนเทนเนอร์ที่ตกค้างเรื่อยมา จนถึงวันที่ 21 เมษายน 2566 ได้ทำการตรวจตู้คอนเทนเนอร์ไปทั้งสิ้น จำนวน 220 ตู้ เมื่อเปิดตรวจ พบว่าเป็นสินค้าประเภทสุกรจำนวน 161 ตู้ น้ำหนัก 4.50 ล้านกิโลกรัม และสินค้าประเภทเนื้อสัตว์อื่น ๆ จำนวน 59 ตู้ น้ำหนัก 1,650,000 กิโลกรัม และส่งมอบบางส่วนให้กรมปศุสัตว์นำไปทำลายแล้วจำนวน 13 ตู้ ทั้งนี้ คิดเป็นเนื้อสุกรแช่แข็ง น้ำหนัก 4,500,000 กิโลกรัม มูลค่า 225,000,000 บาท
2.4 สถิติการจับกุมเศษพลาสติก มีทั้งหมด 1 คดี น้ำหนัก 5,000 กิโลกรัม มูลค่า 88,059 บาท
– เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 กรมศุลกากร โดยสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตรวจพบสินค้าสำแดงการนำเข้าเป็นม้วนฟิล์ม แต่เมื่อเปิดตรวจด้านในตู้คอนเทนเนอร์ ปรากฏเป็นเศษฟิล์มพลาสติก และพลาสติกในลักษณะเป็นเศษ ไม่สามารถใช้ได้มัดรวมเป็นก้อนไว้ด้วยลวดเหล็ก ซึ่งสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าควบคุม และผู้นำเข้าไม่มีใบอนุญาตมาแสดงขณะนำเข้า และมิได้เป็นการนำเข้าโดยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากรแต่อย่างใด น้ำหนัก 5,000 กิโลกรัม มูลค่า 88,059 บาท
3. กรมศุลกากรขอแจ้งเตือนโปรดอย่าหลงเชื่อกรณีแอบอ้างชื่อกรมศุลกากรในการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ
3.1. กรณีหลอกให้รัก หลอกให้โอนเงิน
ในกรณีที่ชาวต่างชาติหรือบุคคลที่ทำความรู้จักกับผู้เสียหายผ่านทางสื่อออนไลน์ แจ้งว่าได้ส่งของขวัญหรือของมีค่าต่าง ๆ มาให้ และขอให้ผู้เสียหายโอนเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและค่าภาษีศุลกากรสำหรับสิ่งของดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายต้องโอนเงินไปให้
3.2 กรณีที่มิจฉาชีพโทรมาแจ้งว่ามีพัสดุติดค้างที่ศุลกากรและให้โอนเงินค่าภาษีศุลกากร
เนื่องจากปัจจุบัน การซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์กำลังได้รับความนิยม สินค้าบางประเภทถูกส่งมาจากต่างประเทศ จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพทำการหลอกลวงว่า ได้สั่งซื้อพัสดุมาจากต่างประเทศและมีภาระค่าภาษีศุลกากร ให้โอนเงินชำระค่าภาษี ไม่เช่นนั้นจะทำการยึดสินค้าดังกล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า