นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร แถลงผลจับกุม 3 คดี

นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร แถลงผลจับกุม 3 คดี

นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร แถลงผลจับกุม 3 คดี

วันที่ 19 มกราคม 2566 นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศุลกากร มีนโยบายในการเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตร น้ำมันยาเสพติด IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา CITES โดยสืบสวนหาข่าวและออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตรวจค้นรถบรรทุก โกดังแหล่งจำหน่าย สถานที่เก็บรักษาที่เชื่อได้ว่ามีของผิดกฎหมายเก็บซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังมีแผนการป้องกันและปราบปรามสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการลักลอบนำเข้า-ส่งออกสินค้า นอกจากนี้ มีการบูรณาการกับหน่วยงาน และพันธุ์พืช
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สถานทูตต่างๆ องค์การตำรวจสากล (Interpol) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration: DEA) เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวระหว่างกัน โดยในเดือนธันวาคม 2565 มีจำนวน 2,720 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 1,711.47 ล้านบาท มีผลงานที่น่าสนใจ ดังนี้
1.ผลการจับกุมยาเสพติด
ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายเดินหน้าปราบปรามยาเสพติดทั้งการผลิต การนำเข้า การนำผ่าน และการลักลอบจำหน่าย โดยสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวด ด้านกระทรวงการคลังโดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง เพิ่มความเข้มงวดและเดินหน้าปราบปรามการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักรทุกเส้นทาง กรมศุลกากรจึงเพิ่มการเฝ้าระวังการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักร และการลักลอบนำยาเสพติดออกนอกราชอาณาจักร ทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ รวมถึงการลักลอบนำยาเสพติดซุกซ่อนมากับสินค้าที่ส่งทางพัสดุไปรษณีย์ มีผลงานที่น่าสนใจ ได้แก่
– การลักลอบนำยาไอซ์ส่งไปฮ่องกงผ่านทางพัสดุไปรษณีย์ โดยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ไปรษณีย์สุวรรณภูมิ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้ประมวลข้อมูลและการเฝ้าระวังพัสดุไปรษณีย์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบลำเลียงยาเสพติดระหว่างประเทศพบพัสดุสำแดงชนิดสินค้าเป็น Pant, Dolls, Scarfs, Silk ปลายทางประเทศฮ่องกง จึงทำการตรวจสอบด้วยการ X – Ray พบความผิดปกติ จึงทำกาตรวจสอบโดยละเอียด พบยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เมทแอมเฟตามีน (ไอซ์น้ำ) ซุกซ่อนในขวดคอนแทคเลนส์ น้ำหนักรวม สิ่งห่อหุ้ม 10.56 กิโลกรัม มูลค่า 6.33 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้ประสานสำนักงานศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง และศุลกากรฮ่องกงเพื่อดำเนินการสืบสวนปลายทางต่อไป
กรณีนี้ เป็นความผิดฐานพยายามนำยาเสพติดประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน)
ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 244 มาตรา 252 ประกอบมาตรา 166 และมาตรา 167
ทั้งนี้ สถิติการตรวจยึดยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในเดือนธันวาคม 2565 มีจำนวน 24 คดี มูลค่า 1,595.39 ล้านบาท สำหรับการสถิติการจับกุมยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2565 พบว่ามีการกระทำผิดเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้า และส่งออกยาเสพติด โดยอันดับที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน มูลค่า 1,356.92 ล้านบาท รองลงมาคือ เมทแอมเฟตามีน มูลค่า 158.14 ล้านบาท และเอ็กตาซี่ มูลค่า 107.20 ล้านบาท
2 ผลการจับกุมบุหรี่
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 ได้ทำการตรวจสอบพัสดุ ณ ศูนย์ไปรษณีย์หาดใหญ่ ตามหนังสือขอเข้าตรวจสอบพัสดุไปรษณีย์ในประเทศ จากฝ่ายสืบสวนและปราบปราม สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 ผลการตรวจสอบปรากฏว่า พบพัสดุซึ่งมีเหตุอันเชื่อได้ว่า สิ่งของภายในเป็นสิ่งของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง ฝากส่งผ่านทางไปรษณีย์ในประเทศ เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ตรวจสอบจึงทำการอายัดพัสดุหมายเลขดังกล่าวไว้และ ได้เปิดตรวจพัสดุหมายเลขดังกล่าวโดยมีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ร่วมเป็นพยาน ผลการตรวจค้นพบ บุหรี่มีถิ่นกำเนิดต่างประเทศ ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง จำนวน 39,000 มวน มูลค่า 180,732 บาท กรณีนี้เป็นการลักลอบหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามมาตรา 242, 244 และมาตรา 246 ประกอบกับมาตรา 166 และ 167 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ สถิติการจับกุมบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเดือนธันวาคม 2565 ได้แก่ 1. บุหรี่ จำนวน 110 คดี มูลค่า 3,463,728 บาท 2. บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์ จำนวน 54 คดี มูลค่า 1,196,288 บาท
3 ผลการจับกุมสินค้าเกษตร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศุลกากร ชุดเคลื่อนที่เร็ว กองสืบสวนและปราบปราม ร่วมกับด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์ ได้ร่วมกันตรวจค้นรถยนต์บรรทุก จำนวน 2 คัน บริเวณศูนย์บริการทางหลวงเขาโพธิ์ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากสงสัยว่ามีสิ่งของที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือมีของต้องห้ามต้องกำกัดซุกซ่อนอยู่ในรถยนต์บรรทุกดังกล่าว ผลการตรวจสอบ พบกระเทียมสดบรรจุกระสอบ มีเมืองกำเนิดต่างประเทศ ไม่มีเอกสารผ่านพิธีการศุลกากรมาแสดง ขณะเจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้น น้ำหนักรวม 30,000 กิโลกรัม มูลค่า 1,500,000 บาท
กรณีนี้ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 242, 244, 246 และมาตรา 247 ประกอบมาตรา 166 และ 167 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ สถิติการจับกุมสินค้าเกษตรในเดือนธันวาคม 2565 มีจำนวน 61 คดี มูลค่า 5,168,554 บาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า