“เหมืองหินอุตสาหกรรม ความหมายมากกว่าที่คิด โอกาสของการรับฟัง ทางเลือกและทางรอด

“เหมืองหินอุตสาหกรรม ความหมายมากกว่าที่คิด โอกาสของการรับฟัง ทางเลือกและทางรอด

“เหมืองหินอุตสาหกรรม ความหมายมากกว่าที่คิด โอกาสของการรับฟัง ทางเลือกและทางรอด

วันที่ 21 พฤษภาคม 2568 ณ อาคารเอนกประสงค์ หมู่ 10 ต.เขากะลา อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ นายอำเภอพื้นที่และเจ้าหน้าที่ในภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ตั้งโต๊ะจัดการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการทำ เหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยคำขอประทาน บัตรที่ 3/2565 ของบริษัท 347 ดีเวลลอปเปอร์ จำกัด ไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น ในการมองเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชน และประชาชนในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุน ความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านเศรษฐกิจและสังคมความเป็นอยู่ของชาวบ้านและชุมชน การสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติให้เท่าทันนานาประเทศ ด้วยความมั่งคั่งและ มั่นคง ภายใต้แนวคิดธุรกิจกับการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม
การทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่ทุกคนอาจรู้จักในนามของ EIA เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตามกฎหมายกำหนด ซึ่งการจัดกิจกรรมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ยังมีอีกหลายกระบวนการ ขั้นตอนที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560
ส่วนสำคัญของ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 ที่ช่วยสนับสนุนและสร้างความเจริญ ก้าวหน้าให้กับชุมชน สังคมและประเทศชาตินั้น ชุมชนคงมีคำถามมากมายว่า ชาวบ้านจะได้อะไรบ้างจากการทำเหมือง ประเด็นสำคัญนั้นไม่ว่าจะเป็นรายได้ ค่าภาคหลวงที่จะกลับคืนสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเกิดการจ้างงานอย่างต่อเนื่องอันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของชาวบ้านและชุมชนรอบเหมือง อีกทั้งเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณูปโภค การพัฒนากองทุนในพื้นที่รอบเหมืองทั้งด้านกายภาพและสาธารณสุข รวมถึงมาตรการการป้องกันผลกระทบเพื่อคุณภาพที่ดีของคนในชุมชน นั่นคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำตอบเท่านั้น
การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง บริษัท 347 ดีเวลลอปเปอร์ จำกัด จึงจัดให้มีการจัดรับฟังการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขึ้นมา โดยการจัดการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการจัดเพื่อการอนุญาตให้ผู้ประกอบการเข้ามาทำเหมืองได้ ทันที ซึ่งที่ปรึกษาของบริษัทฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่ทางบริษัทต้องดำเนินการ ทั้งในส่วนของภาครัฐและ ภาคประชาชน ซึ่งในปี 2567 ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลในการคาดการณ์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งทางบวกและทางลบในการดำเนินโครงการ หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการ สำรวจไปแล้ว ผลของข้อมูลที่ได้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในด้านคุณภาพอากาศ เสียง แรง สั่นสะเทือนและหินปลิว คุณภาพน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าและการคมนาคม มีค่าอยู่ในเกณฑ์ ที่มาตรฐานกำหนด นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังถูกกำกับโดยมาตรการควบคุมการวางหลักประกันการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมืองและเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง พ.ศ. 2562 หากไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และมาตรการที่กำหนดการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและชุมชนโดยรอบ การจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน สัมพันธ์ การเปิดช่องทางให้ประชาชนได้เสนอแนะ ให้ข้อคิดเห็น ล้วนเป็นการ สร้างความเข้มแข็งให้กับการทำเหมือง การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ กับประเทศชาติ นำมาซึ่งแนวคิดและกระบวนการทำเหมืองด้วยความรับผิด ชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ บริษัท 347 ดีเวลลอปเปอร์ จำกัด ได้มีการดำเนินการจัดรับฟังความ คิดเห็นไปแล้วในคราว โดยท่านทวี เสริมภักดีกุล ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ หลังจากนั้นท่านได้นัดหมายให้มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ชาวบ้านและ หน่วยงานทางราชการในจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยการหารือดังกล่าวมีมติให้ผู้ประกอบการทบทวนเรื่องการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติม
และในวันนี้ ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น คุณภาพอากาศ เสียง แรงสั่นสะเทือน หินปลิว คุณภาพน้ำ ทรัพยากรป่า ไม้และสัตว์ป่า การคมนาคม เศรษฐกิจ สังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนสาธารณสุข และสุขภาพอนามัย นอกจากนี้ยังได้นำเสนอมาตรการป้องกันแก้ไข และติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ การมีส่วนร่วม และข้อเสนอแนะของชุมชนในพื้นที่ทำเหมือง โดยมีประชาชนในพื้นที่ เหมือง ได้แก่ หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 10 และพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 9 และหมู่ ที่ 12 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมรับฟังและสอบถามข้อสงสัย ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เจ้าหน้าที่จาก บริษัท ตถาตา สิ่งแวดล้อม จำกัด จะเข้าพื้นที่อีกครั้ง เพื่อปิดประกาศรายงานการประชุมฯ ณ ศาลาประชาคม และสำรวจความคิดเห็นรายครัวเรือน เพื่อนำไปผนวกรวม ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
จากการสังเกตการณ์ของผู้นำชุมชนในพื้นที่ พบว่ามีกลุ่มผู้เข้าร่วมรับฟัง ความคิดเห็นกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นประชาชนนอกพื้นที่ซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและไม่ได้อยู่ในรัศมี 3 กิโลเมตร หรือ 5 กิโลเมตร ได้เข้ามาคัดค้านการ จัดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการจัดตั้งกลุ่ม ประชาชนจากนอกพื้นที่เข้าร่วมการคัดค้านดังกล่าว ซึ้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวกับพวกพ้อง นำคนนอกพื้นที่มาก่อกวนสร้างความไม่สงบ ขัดขวางการพัฒนาประเทศ ขัดขวางการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญวางตัวไม่เป็นกลางและยังสร้างความไม่สงบ ทั้งๆที่บริษัท 347 ดีเวลลอปเปอร์ จำกัด ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วย พรบ.แร่ พ.ศ.2560 และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณ ศุภผล จริงจิตร

ผอ.ภ.6 นิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า